ปักษาวายุภักษ์ หรือนกการเวกนั้น เรียกกันอีกชื่อหนึ่งในวรรณคดีเรื่อง
ไตรภูมิพระร่วงว่า นกกรวิค อธิบายว่ามีเสียงไพเราะยิ่งนัก สัตว์ทุกชนิดเมื่อได้ยินเสียงนกกรวิคแล้วจะต้องหยุดฟังนอกจากนี้ยังปรากฎมีมาในพระบาลีว่าเสียงของพระพุทธเจ้านั้นเหมือนเสียงพรหม
แจ่มใสชัดเจน อ่อนหวาน สำเนียงเสนาะ ไม่แตก ลึกซึ้ง มีกังวาลไพเราะและเหมือนเสียงนกการเวก
ส่วนอาหารของนกการเวกนั้น มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ปัญจสุทนีว่า นกการเวก กินน้ำมะม่วงสุกเป็นอาหาร
แต่โดยที่นกชนิดนี้หายากหลงเข้าใจกันแต่ว่าอยู่บนท้องฟ้ากินลมเป็นอาหารจึงตั้งชื่อว่า
วายุภักษ์ ก็มีเช่นกัน ตามวรรณคดีไตรภูมิพระร่วงนั้น กล่าวว่าขนนกการเวกนั้นเป็นที่ต้องการเพราะกลายเป็นทองคำได้
นอกจากจะเป็นนกที่มีหลายชื่อแล้วคำว่า วายุภักษ์ ยังเป็นชื่อของ รากษส
ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรต์อีกด้วย โดยที่ท่อนล่างเป็นนกอินทรี ท่อนบนเป็นมนุษย์
เศียรเป็นยักษ์ทรงมงกุฎน้ำเต้า ครองเมืองวิเชียร มีสีกายและสีหน้าเขียว
เรียกว่า กสูรวายุภักษ์