Dragon

นอกจากความสลับซับซ้อนดังกล่าว อีกสิ่งหนึ่งที่เราสามารถอนุมานเกี่ยวกับ มังกรได้ก็คือ โครงสร้างส่วนใหญ่ของร่างกายมันจะต้องมีห้องมากมายสำหรับเก็บก๊าซไฮโดรเยน นั่นล่ะคือจุดอ่อนตามธรรมชาติ ของสัตว์ยักษ์เหล่านี้ ลองคิดกันง่ายๆหากมันโดนดาบหรือไม้จิ้มฉึกทะลุเข้าช่องท้องสู่ห้องเหล่านี้ สิ่งที่ตามมาก็คือกรดไฮโดรคลอริก จะทะลักออกมาทำปฏิกิริยากับทุกสิ่งที่สัมผัสกับมัน ไม่ว่าจะเป็นดาบ มือที่จับดาบ หรือแม้แต่ผิวหนังของมังกรเองก็ตาม โดนเข้าอย่างนี้ต่อให้เป็นโคตรมังกรก็สิ้นฤทธิ์ มันจะบินไม่ได้พ่นไฟก็ไม่ได้ มีอากาศเหมือนลูกโป่งหรือบอลลูนที่ถูกเจาะทะลุ โครงสร้างที่เบาบางของมันจะยุบสลายโดยสิ้นเชิง คงนึกภาพออก ว่าเมื่อมังกรตาย(ไม่ว่าจะแก่ตายหรือโดนดาบเอ็กซ์คาร์ลิเบอร์ จิ้มตายก็ตาม) มันจะสลายตัวไปในเวลาไม่นานนักซึ่งค้านกันเอามากๆกับรูปร่างของมัน นี่เองจึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมเราจึงไม่พบกระดูก เศษซาก หรือว่าฟอสซิลของมังกรเลย เชื่อได้เลยว่ามังกรต้องวิวัฒนาการมาจากสัตว์ประเภทไดโนเสาร์เพราะรูปร่างหน้าตามันก็บอกอยู่แล้ว เชื่อว่าในตัวมังกรจะ ต้องมี
เยื่อเมือกตามธรรมชาติไว้คอยป้องกันกรดไฮโดรคลอริก เพื่อไม่ให้กัดกร่อนเนื้อเยื่ออื่นๆและกรดจะถูกหลั่งออกมาจากต่อมในตัวมัน เพื่อใช้ในกระบวนการชีวเคมีของมังกร ช่องว่างต่างๆในตัวมังกรจะถูกกั้นด้วยเยื่อและอวัยวะที่มีหน้าที่เหมือนลิ้นเปิดปิดโดยอาศัยแรงดึง ของเนื้อเยื่อ และจะทำให้การส่งผ่านก๊าซเป็นไปอย่างสมดุลย์ตลอดทั้งร่างของมังกร เนื้อเยื่อเหล่านี้จะมีหน้าที่สำคัญอื่นๆอีกกล่าวคือ ในสภาวะปกติความดันต่างๆจะอยู่ในภาวะที่ปกติพอควรที่จะทำให้มังกรเดินต้วมเตี้ยมไปมาบนพื้นดินได้ ไม่ลอยไปมาเหมือนลูกโป่ง เมื่อมังกรต้องการจะบิน เนื้อเยื่อของมันจะขยายตัวทำให้ปริมาตรของตัวช่องเก็บก๊าซเพิ่มขึ้นในขณะที่มวลของก๊าซคงเดิม สิ่งที่ตามมาก็คือความดันลดลง (ลืมกันไปหมดหรือยังนะ PV = nRT , เมื่อ V เพิ่ม P ก็ย่อมลดลงเป็นธรรมดา) พูดถึงการเพิ่มปริมาตรในช่องอากาศของมังกร ขอร้องอย่าให้ทุกคนนึกถึงมังกรพองลมในลักษณะของปลาปักเป้า แบบนั้นมันดูน่าเกลียดมากสำหรับสัตว์ที่สง่างามอย่างมังกร (ถึงแม้ว่าตำราโบราณของจีนจะกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงขนาดของมังกร ในลักษณะนี้ก็เหอะ) เพราะการหดตัวของเนื้อเยื่อโดยการควบคุมกล้ามเนื้อ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหดตัวเข้าสู่บริเวณครีบของมัน เห็นจากภาพทั่วๆ ไปไหม ไม่ว่าจะมังกรหรืออะไรก็ตามพอมันบินแล้วครีบหลังมันจะตั้งต่างกันกับตอนอยู่บนดิน แถมครีบนี้ยังสามารถป้องกันตัวได้อีก นับว่าสารพัดประโยชน์ดีเหมือนกัน ตอนนี้เราก็สามารถแก้ปัญหาเรื่องการบินของมังกรได้อย่างสมบูรณ์แบบ เพราะถ้ามังกรต้องใช้ปีกในการพยุงตัวเพื่อบินจริงๆ มันก็ต้องมีกล้ามเนื้อที่มีพลังมหาศาลเกินกว่าธรรมชาติจะประทานให้ได้ แต่ด้วยวิธีการลอยตัวนี้มังกรจะสามารถบินได้อย่างไม่ยากเย็นนัก ปัญหาเรื่องการบินที่จะตามมาอีกร้อยแปดพันเก้าก็เป็นอันพับทิ้งไปได้เลย ทีนี้กลับมาว่าเรื่องของซากมังกรที่เราไม่เคยค้นพบกันใหม่ดีกว่า แม้ว่าจะด้วยกลไกทางชีววิทยาของมังกรจะทำให้เราไม่มีวันพบฟอสซิล ของมันได้เลย ในทำนองเดียวกับที่นักชีววิทยาไม่เคยพบซากบรรพบุรุษของนก ว่าลักษณะที่พวกมันเริ่มหัดบินนั้นมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่และ เป็นลักษณะอย่างไร แต่ด้วยขั้นตอนเดียวกัน เราสามารถอนุมานถึงการวิวัฒนาการทางการบินของมังกรได้ตามลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน ตามสมควร ดังนี้... เริ่มจากขนาดของมันก่อน เราทราบกันดีว่าพวกไดโนเสาร์ส่วนใหญ่จะมีขนาดที่ใหญ่โตมาก แต่สัตว์ในตระกูลนี้กลับวิวัฒนาการ จนมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆเพื่อความอยู่รอด เพราะสัตว์ตัวเล็กย่อมคล่องแคล่วและต้องการปริมาณอาหารน้อยกว่าตัวใหญ่ ไดโนเสาร์รุ่นหลังๆ จึงมีขนาดเล็กลง ในขณะที่พวกตัวใหญ่ๆเริ่มพากันล้มหายตายจากไปตามกฏของธรรมชาติ สำหรับตระกูลตัวใหญ่ที่จะ ดันทุรังมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้โดยไม่ลดขนาด ก็มีอยู่วิธีเดียวคือลดน้ำหนักตัวลงเพื่อเพิ่มความคล่องแคล่วและสงวนพลังงานในการเคลื่อนไหว เอาล่ะ เจ้ามังกรก็คงวิวัฒน์ตัวเองออกมาในทางเลือกที่สองนี้แถมยังมีโรงงานผลิตกก๊าซไฮโดรเยนในตัวเองอีก เป็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าอัศจรรย์และกินเวลานานเอามากๆ ถึงแม้จะพิลึกและยาก นักวิทยาศาสตร์ก็ยังบอกว่า มันง่ายกว่าที่มนุษย์สมัยดึกดำบรรพ์จะวิวัฒน์มาเป็นโฮโมเซเปียนส์อย่างรวดเร็ว ในแบบที่เกิดขึ้นบนโลกของเรานี้เป็นไหนๆ ในช่วงวิวัฒนาการนี้ บรรพบุรุษของมังกรก็ลดลงและสูญพันธุ์ไปในที่สุด เหลือเพียงผลพวงของความเปลี่ยนแปลงเพื่อการอยู่ รอดนั่นก็คือ...มังกร มันได้ละทิ้งเครื่องประดับอันฟุ่มเฟือยเช่น หนอก เขา ต่างๆไปหมด แม้แต่กระดูกก็ยังวิวัฒน์ให้เป็นลักษณะกลวง พวกเกร็ดหนังหนาๆตามตัวที่เคยเป็นเหมือนเกราะบัดนี้ก็ได้หนักอึ้งเกินความจำเป็น พวกมันคงทิ้งส่วนนั้นไปอย่างไม่เสียดายเหลือไว้เฉพาะ เขาที่เอาไว้ป้องกันส่วนหัวเท่านั้น เราสามารถทึกทักเอาได้อย่าสบายมากว่ามังกรใช้วิธีการเคลื่อนที่ด้วยการกระโดดเหมือนจิงโจ้แทนที่จะเดิน (ไม่แปลกเลย เมื่อเทียบกับการเคลื่อนที่ของพวกไดโนเสาร์กินเนื้ออย่างเวโลซี แรพเตอร์) ด้วยการทำรูปร่างให้เบาและการ กระโดดก็ทำให้มังกรรุ่นหลังสามารถกระโดดได้สูงขึ้น - น้ำหนักเบาลง จนกลายเป็นแทบจะบินได้ในลูกหลานของมังกรช่วงหลัง มังกรไม่มีปีกในหลายๆชาติเช่นจีนหรือนอร์สนั้นบินได้ แท้ที่จริงมันอาจไม่ได้บินแต่กำลังกระโดดอยู่ เพียงแต่กระโดดสูงเสีย จนคนเราคิดว่ามันกำลังบินอยู่ และเราก็ได้ข้อสรุปว่าพวกมันเป็นบรรพบุรุษของมังกรรุ่นที่มีปีก เอ๊ะ... แล้วทีนี้ปีกของมังกรจะมาจากไหนล่ะ? ง่ายๆ พอกระโดดได้สูงขึ้นไกลขึ้นก็ต้องเริ่มหาอะไรมาช่วยบังคับทิศทางในการเคลื่อนไหว ธรรมชาติจึงสร้างปีกมังกร ขึ้นมาช่วยในการควบคุมทิศทาง เรื่องของเรื่องก็เลยกลายเป็นแรกๆมังกรเคลื่อนที่ด้วยการกระโดด พอกระโดดเก่งเข้าก็เลยมีปีก เพื่อช่วยร่อนไปมาในอากาศเหมือนเทอร์ราโนดอนหรือบรรพบุรุษของนก และพอร่อนเก็บ Level เข้ามากๆก็เลยกลายเป็นบินได้ด้วยเองซะเลย สบายเขาล่ะ ด้วยข้อจำกัดทั้งหลายทั้งปวง มังกรจึงไม่น่าเป็นสัตว์ที่แข็งแกร่งโดดเด่นอะไรขึ้นมาได้(ยกเว้นรูปร่าง ซึ่งคงจะน่าเกรงขามอยู่เอาการ) แต่ก็น่ายกย่องพวกมังกรอยู่ ที่มันสามารถวิวัฒนาการผ่านวิกฤตมาได้เหมือนกับบรรพบุรุษของพวกนก ด้วยขนาดที่ใหญ่โตเกินไป มังกรจึงจำเป็นต้องอยู่ในถ้ำแทนที่จะอยู่ในป่าหรือที่ราบซึ่งเหยื่อและศัตรูสามารถมองเห็นได้ง่าย มังกรคงซุ่มอยู่ในถ้ำหรือรอยแยกของหินผา คอยเวลาออกมาร่อนมากระโดดจับเหยื่อกิน ที่น่าสงสารก็คือ แม้พวกมันจะวิวัฒน์ผ่านวิกฤตเอาตัวรอดมาได้ แต่ด้วยข้อจำกัดที่พวกมันมีพวกมันก็คงดำรงเผ่าพันธุ์กันอยู่ได้ไม่นานหรอก ไดโนเสาร์แห่งยุคกลางที่เอาตัวรอดและสืบเชื้อสายมา หลายล้านปีเหล่านี้ ท้ายที่สุดก็พากันลดจำนวนลงไปตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะเหลืออยู่ไม่กี่ตัวที่ยังรอดรอเวลามาให้วีรบุรุษเ อาดาบมาเสียบพุงเล่น จนกลายเป็นตำนานเล่าขานกันมาถึงปัจจุบัน และนี่คือความเป็นมาของมังกรภายใต้สมมติฐานที่เป็นไปได้ อ้างอิงข้อมูลจากทั้งเทพนิยายและตำราวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันคงไม่มีมังกรเหลืออยู่บนโลกนี้อีกแล้วนอกจากในภาพยนตร์หรือวิดีโอเกมส์ ซึ่งอย่างหลังนี่ดูจะมีออกมาท้าทายวีรบุรุษเกมเมอร์ เป็นพิเศษ ...(ขอบอกว่าทั้งหมดนี้เป็นข้อสันนิษฐาน อยู่ที่วิจารณญานส่วนบุคคลน่ะจะบอกให้ ...และขอขอบคุณ คุณโซนิค เจ้าของบทความเรื่องมังกรนี้ไว้ด้วย)