Dragon

เราลองมาคิดกันอย่างมีเหตุและผลดู เอาเป็นว่าลองลดขนาดปีกของมังกรลงมาเหลือยาวราวสัก 6 เมตร ซึ่งหมายความว่าจากปลายปีกอีกด้านถึงด้านจะยาว 12 เมตร(ก็ยังคงตัวมหึมาอยู่) ตามหลักกลศาสตร์มันก็ยังคงบินไม่ขึ้นนั่นแหละ เพราะพื้นที่ของปีกหรือแรงยกที่จะทำได้ จะเพิ่มในลักษณะของกำลังสองในขณะที่มวลเพิ่มในลักษณะของกำลังสาม ขนาดยิ่งเล็กลงโอกาสที่จะบินได้ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ว่าเราจะสมมุติให้มังกรมีปีกที่มีประสิทธิภาพที่สุดในบรรดาสัตว์ที่เรารู้จักกัน ปีกของมันก็ยังจะทรงพลังจนเหลือเชื่ออยู่ดี เอ๊ะ แบบนี้ก็เหลือทางเดียวสิ ที่มังกรจะบินขึ้นสู่ท้องฟ้าได้โดยไม่อาศัยพลังปีก ทางเดียวที่ว่านั้นก็คือ มังกรมีน้ำหนักหรือมวลที่น้อยมากไง... ทีนี้ปัญหาของ "ปีกมังกร ที่ถกกันก็คงหมดไปได้ เรารู้แล้วว่ามังกรไม่ได้ใช้ปีกในการพยุงร่างอันมหึมาของมันขึ้นสู่บนอากาศ หากแต่ใช้เพื่อบังคับทิศทางและใช้เป็นเกราะเพื่อป้องกันตนเอง และถ้ามองมังกรอย่างเผินๆเวลาอยู่บนพื้นเราก็อาจไม่เห็นปีกของมัน ทำนองเดียวกับสัตว์จำพวกแมลงเต่าทองเวลาหุบปีกนั่น
เอง แล้วไฟของมังกรล่ะ? มีปัญหาเหลือเกินว่าทำไมมังกรจึงมักพ่นไฟเป็นเปลวอยู่ในช่วงสั้นๆของจมูกมันเท่านั้นเอง ทำไมจึงไม่พ่นออกมาเป็นเปลวเพลิงเหมือนก็อดซิลล่า คำตอบก็อยู่ที่พฤติกรรมของพวกมังกรล่ะ อย่างที่ขาเกมส์ RPG รู้กันว่ามังกรมักจะอยู่ในถ้ำ มันจึงจำเป็นต้องมีการควบคุมปริมาณอากาศจากกระบวนการทาง ชีววิทยาของมัน แน่ล่ะว่าขีดจำกัดในการควบคุมย่อมต้องมีแน่นอน และน้องๆนักศึกษาที่เรียนเคมีกับชีววิทยากันมาแล้วก็คงจะตอบได้ดีว่า กระบวนการดังกล่าวของเจ้ามังกรนั้นก็คือกระบวนการสันดาปก๊าซ"ไฮโดรเยนกับออกซิเยนนั่นเอง เอ... แล้วไฮโดรเยนพวกนี้มันมาจากไหนกันนะ กลไกทางธรรมชาติมากมายมักสร้างที่ไปที่มาที่พวกเราคาดไม่ถึงกันอยู่เสมอๆ ลองนึกตัวอย่างของปลาไหลไฟฟ้าที่มีเซลที่สามารถประจุไฟฟ้าได้ปริมาณมหาศาล เจ้ามังกรก็อาจมีอวัยวะบางชนิดที่สามารถแยก ไฮโดรเยนออกจากสารอาหารหรือน้ำด้วยวิธีทางชีวเคมี และทำให้มันรวมกับออกซิเยนในตอนมันหายใจก็เป็นได้ ไม่ว่า กระบวนการดังกล่าวจะเป็นยังไงก็ตาม(ก็ไม่รู้นี่นา...) มันทำให้มังกรหายใจเป็นเปลวเพลิงได้เพราะมันจำเป็นต้องทำแบบนั้น เปลวเพลิงใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่นใช้พ่นเป็นอาวุธ ใช้ดึงดูดเพศตรงข้ามทำนองเดียวกับแพนหางของนกยูง แถมยังช่วยในการบินซึ่งจะขออธิบายในตอนหลัง ว่ากันง่ายๆก็คือตราบใดที่ตัวมังกรยังมีไฮโดรเยนมากพอ มันก็สามารถอยู่ในถ้ำ และพ่นไฟได้อย่างสนุกสนานสบายมาก และคงเป็นเพราะในถ้ำนั้นมืดมังกรก็เลยต้องพ่นลมหายใจเป็นไฟเพื่อ ส่องสว่างด้วยล่ะมั้ง ก็อย่างที่กล่าวไว้ในตำนานนั่นล่ะ พวกวีรบุรุษต่างๆมักจะเข้าไปในถ้ำที่มีเปลวและควันไฟพวยพุ่งออกมา เจออาการนี้เมื่อไหร่ก็อนุมานได้เลยว่า ในนั้นต้องมีมังกรอาศัยอยู่ภายในอย่างแน่นอน ไฟคือสัญลักษณ์ที่แท้จริงของมังกร เพราะไม่ว่าชีวิตจะวิวัฒนาการไปในรูปแบบใด ธรรมชาติก็มีเหตุผลมารองรับการวิวัฒน์นั้นๆเสมอ ได้กล่าวมาแล้วว่า การที่มังกรสามารถบินได้นั้นเพราะมันสามารถทำตัวให้เบากว่าอากาศได้ ดังนั้นมันจึงต้องการที่ว่าง ขนาดใหญ่มากจนเกือบจะเท่าตัวมันทั้งหมด เพื่อที่จะบรรจุก๊าซที่เบากว่าอากาศเอาไว้ ซึ่งจะทำให้เกิดแรงพยุงตัวแบบเรือเหาะ ว่ากันถึงก๊าซที่เบากว่าอากาศนักเรียนเคมีอาจจะตอบได้ว่าฮีเลียมน่าจะเหมาะที่สุด ทว่าในความเป็นจริงนะ ฮีเลียมมีปริมาณตามธรรมชาติน้อยมาก แถมแทบจะไม่มีบทบาทใดๆต่อสิ่งมีชีวิตเลย ไฮโดรเยนจึงนับว่าเหมาะที่สุดซึ่งนอกจาก จะมีปริมาณตามธรรมชาติมากแล้ว มันยังเบาและลุกไหม้อย่างรุนแรงได้เมื่อรวมกับออกซิเยน สารประกอบบางรูป ของมันมีอยู่ทั่วไปในระบบย่อยอาหารของสัตว์แม้แต่มนุษย์ ร้องอ๋อกันแล้วล่ะสิ กรดไฮโดรคลอริกนั่นเอง ปฏิกิริยาชีวเคมีนี้จะต้องมีขั้นตอนอันสลับซับซ้อนมากมาย ตลอดจนสารประกอบอีกหลายอย่างที่จะนำมาสู่กระบวนการสันดาปของมังกร นี่ล่ะมั้ง ที่ทำให้ลมหายใจของมังกรมีกลิ่นเหม็นและฉุนเฉียว